2 สามี ภรรยาอาชีพครู ใช้เวลานอกราชการ เพาะไข่ "ตั๊กเเตน ปาทังก้า"  ขายสร้างรายได้งาม


22 พ.ค. 2566, 13:25

2 สามี ภรรยาอาชีพครู ใช้เวลานอกราชการ เพาะไข่ "ตั๊กเเตน ปาทังก้า"  ขายสร้างรายได้งาม




วันที่ 21 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวประจำจ.สุรินทร์ รายงานว่า เเต่ก่อนตั๊กแตนหรือที่่ชาวสุรินทร์พูดภาษาเขมรเรียกว่า"กะโน๊บ" ถือเป็นแมลงที่ถูกขนานนามว่าเป็นศัตรูพืชอันดับต้น ๆ ของชาวเกษตรกร เพราะพวกมันจะเข้ามากัดกินและทำลายพืชผลทางการเกษตร จึงทำให้ต้องใช้วิธีฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแทน คนที่ได้รับผลผระทบตามมาก็คือคนที่ต้องบริโภคผลผลิตเหล่านั้นที่อาจะเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีจากยาฆ่าแมลงเข้าสู่ร่างกาย เเต่ปัจจุปันนี้ ได้กลับกลายมาเป็นอาชีพสร้างรายได้อีกทางเลือกหนึ่ง ให้กับผู้ที่สนใจ ที่จะเลี้ยงตั๊กเเตนขาย และนี่ก็อีกหนึ่งตัวอย่าง

ผู้สื่อข่าวได้มาพบกับ นายสมพงษ์ เชื้อทอง อายุ 53 ปี เเละนางมณีวรรณ เชื้อทอง อายุ 51 ปี 2 สามีภรรยา ซึ่งมีอาชีพเป็นครูประชาบาล ได้ตัดสินใจใช้บริเวณหน้าบ้าน ซึ่งเปิดเป็นร้านกาเเฟเล็กๆ  และหลังร้านทำเป็นสวนองุ่น อยู่ บ้านเลขที่ 9 หมู่ 10 บ.พรหมสะอาด ต.พระเเก้ว อ.สังขะ จ.สุรินทร์  ติดถนนหลัก สาย 24 สีคิ้ว-เดชอุดมอุบลราชธานี ช่วงอ.สังขะ จ.สุรินทร์ กับ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ  โดยได้มาทดลองเป็นสถานที่เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า เพื่อหวังสร้างอาชีพใหม่ทำรายได้ให้กับครอบครัวอีกหนึ่งช่องทาง  โดยศึกษาวิธีเลี้ยงมาจากสื่อออนไลน์ แล้วก็ติดต่อขอซื้อไข่ตั๊กแตนมาทดลองเลี้ยงจนเริ่มประสบความสำเร็จ รวมไปถึงการเพาะพันธุ์เพื่อขายต่อตามท้องตลาด ที่ตอนนี้มีออร์เดอร์เข้ามาไม่ขาดสาย เรียกได้ว่ามีเท่าไหร่ก็ไม่พอขายเลยทีเดียว

นายสมพงษ์ เชื้อทอง กล่าวว่า ตนเเละภรรยามีอาชีพรับราชการครู มีลูกสาว 2 คน ได้คิดหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง เเละให้ลูกได้มีรายได้ จึงอยากทดลองเลี้ยงอะไรใหม่ๆ ซึ่งปกติก็เปิดร้านกาเเฟ เเละเลี้ยงวัวจำนวน 13 ตัว พร้อมกับทำสวนองุ่น ซึ่งใช้เวลานอกราชการมาทำอาชีพนี้  จากนั้นก็ได้เริ่มทำการศึกษาหาความรู้ผ่านทางโลกโซเซียล จนมาพบวิธีการเพาะเลี้ยงตั๊กแตน จึงทดลองสั่งซื้อหามาเลี้ยง โดยซื้อมา 1 ขีด ราคาขีดละ1,000 บาท เพาะได้  500 ตัว จากนั้นก็ให้ตั๊กแตนที่เพาะได้ผสมกันเอง แล้วออกไข่รุ่นใหม่มาแล้วก็ขยายพันธุ์ต่อ เเต่ก็ต้องระวังพวกมดที่จะมากินซากตั๊กเเตน เพราะถ้ากินก็จะตายยกคอก ซึ่งทีแรกก็เริ่มต้นจากการเลี้ยงเพื่อเอาไว้กินเอง แต่ล่าสุดมีคนสนใจสั่งซื้อตั๊กแตนทางออนไลน์ และสั่งซื้อมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ตอนนี้ก็เริ่มที่จะได้ส่งขายอย่างต่อเนื่องแล้ว

สำหรับขั้นตอนของการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา หรือตั๊กแตน ซึ่งภาษาพื้นถิ่นสุรินทร์นั้นจะเรียกว่า “กะโน๊บ” (ภาษาเขมร) ก็โดยเริ่มจากการเตรียมสถานที่เลี้ยง ซึ่งต้องเลี้ยงในระบบปิด โดยใช้มุ้งตาข่ายขนาดเล็กมทำเป็นโรงเรือนเพาะเลี้ยงรูปทรงสี่เหลี้ยม ขนาดประมาณ กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร ปูพื้นด้วยทรายผสมกากมะพร้าว จากนั้นก็นำไข่ตั๊กแตนมาเพาะไว้ เมื่อตั๊กแตนฟักออกมาแล้ว ก็เริ่มให้อาหารโดยการใช้ใบไม้อย่างใบกล้วยหรือหญ้า จากนั้นก็ฉีดพรมน้ำเช้าเย็น แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว จากนั้นก็รอให้ตั๊กแตนมีอายุ 45 วัน ก็จะเริ่มผสมพันธุ์และออกไข่มาให้ได้เก็บ โดยจะใช้วิธีการนำกระบะทรายมาวางไว้เพื่อให้ตั๊กแตนมาวางไข่แล้วทยอยเขี่ยเก็บ ซึ่งการเก็บก็จะเริ่มทยอยเก็บครั้งหนึ่ง แล้วเว้นไว้อีก 2-3 วัน  ก็ค่อยมาเก็บใหม่ และเมื่อตั๊กแตนอายุได้ 45 วัน ก็จะเริ่มทยอยจับตัวส่งขายแล้วนำชุดใหม่มาเลี้ยงแทน ซึ่งแต่และโรงเรือนถ้าโรงเรือนขนาดนี้ จะสามารถเลี้ยงตั๊กแตนได้เป็นหมื่นๆตัว ซึ่งตอนนี้ตนเพาะตั๊กเเตนอยู่ 3 คอก

“ และสำหรับราคาการซื้อขายตั๊กแตนในตอนนี้นั้น ราคาขายแบบเป็นตัว ขายส่งจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 450 บาท แต่หากขายเป็นไข่ราคาจะสูงถึงกิโลกรัมละ 10,000 บาท หรือขีดละ 1,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพใหม่ที่ดีอย่างมาก เพราะมีค่าตอบแทนที่ดี ตลาดต้องการสูง เพราะตั๊กแตนถือเป็นอาหารโปรตีนชั้นดีที่คนนิยมรับประทานกัน อีกทั้งขั้นตอนการเลี้ยงก็ง่าย ลงทุนต่ำด้วย ซึ่งตอนนี้มีลูกค้าทั้งขาประจำเเละขาจรมาติดต่อขอซื้อกันไม่ขาด หากท่านใดสนใจสั่งซื้อหรือจะลองเพาะเลี้ยง  ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 095-7450005 ซึ่งตนก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ”  นายสมพงษ์ เชื้อทอง กล่าว





คำที่เกี่ยวข้อง : #ตั๊กเเตน ปาทังก้า  









©2018 CK News. All rights reserved.