ตร. เผย สถิติแจ้งความออนไลน์ในรอบ 1 ปี สูงกว่า 2 แสนเคส เสียหายกว่า 3 หมื่นล้านบาท


14 มี.ค. 2566, 13:32

ตร. เผย สถิติแจ้งความออนไลน์ในรอบ 1 ปี สูงกว่า 2 แสนเคส เสียหายกว่า 3 หมื่นล้านบาท




ตามนโยบายของรัฐบาล โดย ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เร่งรัดป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะภัยออนไลน์ ที่เกิดขึ้น และสร้างความตระหนักรู้เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์ให้แก่ประชาชน นั้น

เวลา 10.00 น. วันที่ 14 มีนาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วย ผบ.ตร./หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้ร่วมกันแถลงข่าว เกี่ยวกับสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบปีที่ผ่านมา และภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่ในรอบสัปดาห์ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีภูมิป้องกันภัยออนไลน์ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

 ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา(1 มี.ค.2565-11 มี.ค.2566) พบว่ามีการรับแจ้งความคดีออนไลน์ 10 อันดับแรก ได้แก่ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า 73,252 เคส/955,427,866 บาท 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม 29,945 เคส/3,323,194,517 บาท 3) คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 24,821 เคส/1,034,104,918 บาท 4) คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ (call center) 20,013 เคส/3,505,338,808 บาท 5) คดีหลอกให้ลงทุน(ที่ไม่เข้าลักษณะฉ้อโกงประชาชน)16,460 เคส/7,661,884,637 บาท 6) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า(เป็นขบวนการ)8,036 เคส/57,293,969 บาท 7) คดีหลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 7,285 เคส/ 254,219,605 บาท 8) คดีหลอกให้โอนเงิน(ไม่เป็นขบวนการ) 5,286 เคส/ 369,123,851 บาท 9) คดีหลอกให้รักแล้วลงทุน 3,201 เคส/ 1,556,536,563 บาท และ 10)หมิ่นประมาท ดูหมิ่น 3,171 เคส/ 11,641,372 บาท รวมทั้งปีมีผู้แจ้งความ 218,210 เคส มูลค่าความเสียหายรวม 31,579,305,746 บาท 

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-11 มี.ค.2566) พบว่ามีการรับแจ้งความคดีออนไลน์ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า 2,184 เคส/19,075,526.61 บาท 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม 758 เคส/87,227,644.38 บาท 3) คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ(call center)739 เคส/87,227,644.38 บาท 4) คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 576 เคส/ 23,697,409.86 บาท และ 5) คดีหลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 312 เคส/8,273,770.68 บาท รวมทั้งสัปดาห์มีผู้แจ้งความ 5,787 เคส/มูลค่าความเสียหายรวม 377,284,886 บาท  

จากสถิติรับแจ้งความออนไลน์ทั้งรอบปีและรอบสัปดาห์ข้างต้นพบว่า สถิติอันดับ 1-4 ยังคงอยู่ในลำดับต้นๆเหมือนเดิม จึงขอเตือนประชาชนไม่ให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อแก๊งค์มิจฉาชีพดังกล่าว 

ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ คือ คดีแก๊งค์ call center แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง และได้โทรศัพท์หาผู้เสียหายให้ตรวจสอบสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐใน Website กระทรวงการคลัง จากนั้นได้ให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนใน line ช่วงนี้คนร้ายส่ง link กระทรวงการคลังปลอมให้ผู้เสียหายกดเข้าไป ต่อมาคนร้ายได้ให้ผู้เสียหายกดที่โลโก้ของกระทรวงการคลังมุมขวามือ ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังจริง จึงยินยอมกด link เข้า Website ปลอม และกรอกข้อมูลชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวในระบบ และใส่รหัสยืนยันตัวตน เลข 6 หลัก ต่อมาผู้เสียหายกรอกเลข OTP 6 หลักให้คนร้ายเพิ่มเติม เป็นเหตุให้ผู้เสียหายถูกควบคุมโทรศัพท์และถูกดูดเงินออกไป จึงขอประชาสัมพันธ์ว่าจงมีสติไม่หลงเชื่อ ไม่กรอกหรือให้ข้อมูลส่วนตัวผ่านช่องทางออนไลน์และทางโทรศัพท์ ไม่ควรกระทำการใดๆ ใน Website หรือ Application ที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่กด link แปลกปลอม และไม่ดาวน์โหลด Application ที่ไม่ผ่านการยืนยันโดยแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ  

สถิติการรับแจ้งความออนไลน์

สถิติการรับแจ้งความออนไลน์รอบ 1 ปี

(1 มี.ค.2565-11 มี.ค.2566)/มูลค่าความเสียหาย สถิติการรับแจ้งความออนไลน์รอบสัปดาห์

( 5-11 มี.ค.2566)/มูลค่าความเสียหาย

สถิติ 10 อันดับแรก

1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า 73,252 เคส/955,427,866 บาท 

2. คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม 29,945 เคส/3,323,194,517 บาท

3. คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 24,821 เคส/1,034,104,918 บาท 

4. คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ (call center) 20,013 เคส/3,505,338,808 บาท

5. คดีหลอกให้ลงทุน(ที่ไม่เข้าลักษณะฉ้อโกงประชาชน) 16,460 เคส/7,661,884,637 บาท  

6. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า(เป็นขบวนการ)

8,036 เคส/57,293,969 บาท 

7. คดีหลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 7,285 เคส/ 254,219,605 บาท 

8. คดีหลอกให้โอนเงิน(ไม่เป็นขบวนการ) 5,286 เคส/ 369,123,851 บาท 

9. คดีหลอกให้รักแล้วลงทุน 3,201 เคส/ 1,556,536,563 บาท 

10. หมิ่นประมาท ดูหมิ่น 3,171 เคส/ 11,641,372 บาท 

รวมทั้งปี 218,210 เคส/31,579,305,746 บาท สถิติ 5 อันดับแรก

1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า 2,184 เคส/19,075,526.61 บาท

2. คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม 758 เคส/87,227,644.38 บาท

3. คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ(call center)739 เคส/87,227,644.38 บาท

4. คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 576 เคส/ 23,697,409.86 บาท

5. คดีหลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 312 เคส/ 8,273,770.68 บาท

 

รวมทั้งสัปดาห์ 5,787 เคส/377,284,886 บาท

 

ข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน Application ดูดเงิน

1. ก่อนเกิดเหตุ

1.1 ไม่ผูกบัตรเครดิต หรือ บัตรเดบิต ไว้ในแอปต่าง ๆ หากจำเป็นให้ยกเลิกการผูกบัตรเมื่อใช้งานเสร็จ หรือจำกัด 

 ยอดวงเงินที่รับความเสี่ยงได้เอาไว้

1.2 หลีกเลี่ยงการผูกบัญชีเงินฝากที่มียอดสูงๆ กับแอพพลิเคชั่นธนาคาร ใช้บัญชีที่มียอดเงินเท่าที่จำเป็น หรือหาก

 มีความจำเป็นต้องรับ-โอนเงินจำนวนมาก/วัน ควรแยกเครื่องที่ใช้โทรศัพท์หรือเล่นโซเชียลมีเดีย 

1.3 อย่าตั้ง “รหัส” เข้าแอพพลิเคชั่นธนาคาร ตามวันเดือนปีเกิด เลขบัตร เบอร์โทร ที่คนร้ายสุ่มได้ง่าย

2. ขณะเกิดเหตุ

2.1 “ตั้งสติ” ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจถูกหลอกลวง ตั้งคำถามกับตัวเอง “จริงเหรอ” 

2.2 “ตรวจสอบ” กลับ โดยดำเนินการ ดังนี้ 

      1) ดูเบอร์โทรที่โทรมา หากมีเครื่องหมาย + นำหน้า แสดงว่าที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ 

      2) เบอร์มือถือโทรมา เราต้องขอเบอร์ “คอลเซ็นเตอร์หน่วยงาน” ที่อ้าง เพื่อติดต่อกลับเองเพื่อถามข้อมูล  

      3) อ้างติดธุระขอวางสาย แล้วโทรกลับเบอร์ที่คนร้ายโทรมา หากโทรไม่ได้ แสดงว่าเป็นการโทรโดยใช้ระบบ

         อินเตอร์เน็ต(VOIP) โทรมาหลอกลวง

2.3 “ต้องสังเกต” ลิงค์ที่คนร้ายให้มาว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น ใช้ขีด แทน จุด เป็นต้น ให้นำลิงค์ตรวจสอบกับ

      เว็ป https://whois.domaintools.com/ จะเห็นว่าเพิ่งเปิดมาไม่นาน ของหน่วยราชการส่วนใหญ่จะเปิดมา

      หลายปี  

2.4 “ต้องห้าม” 1) โหลดลิ้งก์จากคนที่เราไม่รู้จักนอก play store/app store 2) ไม่อนุญาตให้ใครเข้าถึงข้อมูลใน  

 เครื่อง สังเกตคำเตือนจากโทรศัพท์ของเรา 3) ไม่บอกรหัสใดๆ ที่แจ้งมาให้ผู้อื่นทราบ

2.5 “ตัดสัญญาณ” เมื่อเกิดอาการ “หน้าจอค้าง” คนร้ายอ้างว่าอยู่ระหว่างตรวจสอบ แต่ความจริงเครื่องท่านถูก

 รีโมทแล้ว ต้องรีบตัดสัญญาณ โดยปิดเครื่อง/ปิดเร้าเตอร์/ถอดซิม(คลิปเสียบกระดาษช่วยได้)





คำที่เกี่ยวข้อง : #ภัยออนไลน์  









©2018 CK News. All rights reserved.