วันที่ 2 มิถุนายน – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.อภิชาติ เรนชนะ ผกก.2 บก.ปคบ. เข้าตรวจค้นทลายโกดังลักลอบผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และปุ๋ยเคมีปลอมโดยผิดกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปคบ. ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่า มีกลุ่มผู้กระทำผิดลักลอบผลิตวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่เป็นสารกำจัดวัชพืช (พาราควอต และปุยเคมีปลอมโดยผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงได้ทำการสืบสวนจนพบสถานที่ผลิตสารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมีปลอม ดังกล่าว และได้เฝ้าสังเกตการณ์จนมั่นใจว่า สถานที่นี้เป็นที่ผลิต และจำหน่ายวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และปุ๋ยเคมีปลอมโดยผิดกฎหมายจริง
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก)โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.)จึงได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่วิซาการเกษตร เข้าทำการตรวจกันสถานที่ที่ดังกล่าวชื่งเป็นโกดัง ในพื้นที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา โดยมีนายเอ (นามสมมติ)เป็นผู้ครอบครองและยินยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นพบ 1. ผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืช ชื่อการค้า กรัมม๊อกโซน ชื่อสามัญ พาราควอต จำนวน 44 แกลลอน และ 200 ขวด,2. ผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืช ชื่อการค้า ด๊อกโซน ชื่อสามัญ พาราควอต จำนวน 24 แกลลอน,3. ผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืชวัตถุอันตราย จำกัดการใช้ ชื่อสามัญ ไกลโฟเชต 48 จำนวน 642 แกลลอน,4. ผลิตภัณฑ์ปุ่ยเคมี บรรจุกระสอบ จำนวน 90 กระสอบ,5. ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารรอง บรรุกระสอบ จำนวน 90 กระสอบ,6. วัตถุดิบพร้อมอุปกรณ์การผลิต จำนวน 26 รายการ,และวัตถุอันตรายอื่น 1 รวมทั้งปุ๋ยเคมีไม่มีทะเบียนอีกหลายรายการ มูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท
เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ฐาน ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ ไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 ฐาน ผลิตปุ๋ยเคมีโดยไม่ได้รับอนุญาต ผลิตเพื่อการค้า ปุ้ยปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 - 2,000,000 บาท
พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากเตือนภัยในกรณีที่เกษตรกรซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ตรวจสอบทะเบียน ผู้ผลิต สถานที่ผลิตให้ถูกต้อง หากเกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ไม่มีทะเบียนหรือไม่ได้ คุณภาพ อาจทำให้เกิดความเป็นพิษร้ายแรง เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมและผลผลิตซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งผลผลิตของเกษตรกรไม่เป็นไปตามเป้าหมายอีกด้วย หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือ เพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค
©2018 CK News. All rights reserved.