เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เยี่ยม"ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งคล้า" จ.บึงกาฬ ย้ำเด็กไทย ปลอดลูกอม ขนมหวาน


25 เม.ย. 2565, 11:54

เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เยี่ยม"ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งคล้า" จ.บึงกาฬ ย้ำเด็กไทย ปลอดลูกอม ขนมหวาน




เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน นำโดย ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ,ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครื่อข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ,ทพญ.มัณฑนา ฉวรรณกุล รองผู้จัดการโครงการแผนพื้นที่ และนางผุสดี จันทร์บาง นักวิชาการโครงการฯและผู้นิเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ติดตามโครงการเด็กไทยไม่กินหวาน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ

โดยมี นายสมชัย คำหงษา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ,ทพ.อดิศักดิ์ จรัสเมธาวิทย์ หัวหน้าฝ่ายทันตะ สสจ. รพ.บุ่งคล้า,นายนริศ อาจหาญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า,นายชัยรัตน์ ดาช้าง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า,นายบุญเลิศ ผลจันทร์ รององค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า,ดร.สุนัน สาคร สาธารณสุขอำเภอบุ่งคล้า,นางทิพยา ทองพันธ์ ผอ.รพ.สต.บุ่งคล้า ให้การต้อนรับพร้อมทั้งบรรยายสรุปผลการดำเนินการโครงการเด็กไทยไม่กินหวาน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า ร่วมกับฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลบุ่งคล้า ครูผู้ดูแลเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สูงอายุในพื้นที่จัดทำโครงการ “ศูนย์เด็กอ่อนหวาน อนุบาลยิ้มใส” ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งคล้า ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เนื่องจากเห็นว่าวัยเด็กเล็กจะมีปัญหาทางช่องปาก เช่น ฟันผุ-ปวดฟัน 

เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จัดทำโครงการขับเคลื่อนนโยบายเครือข่ายลดบริโภคหวานและสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนขับเคลื่อน อบต.บุ่งคล้า ที่ให้ความสำคัญ และจัดทำโครงการศูนย์เด็กอ่อนหวาน อนุบาลยิ้มใสต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดหวานทำให้เกิดฟันผุ แล้วเกิดโรคอ้วน จนเกิดประสิทธิภาพเด็กๆจึงไม่มีปัญหาช่องปาก สุขภาพฟันดี 

ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน มีการขับเคลื่อนการลดกินหวาน ซึ่งปัจจัยเรื่องของน้ำตาล การกินหวานมีความสำคัญกับเรื่องของโรคในช่องปาก โดยภาพรวมทำให้เกิดโรค NCDsซึ่งการทำงานของเครื่อข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน  จะมีการจัดการตัวปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของน้ำตาลในภาพรวมทั้งในเชิงของพื้นที่ ระดับเชิงนโยบาย และเนื้อหาเชิงวิชาการ เพราะฉะนั้นในระดับพื้นที่มีการประสานงานทันตสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดบึงกาฬ และหนองคาย โดยทันตแพทย์ที่ดูแลงานทันตสาธารณสุข จะมีการวางหลักการณ์ในการทำงานเชื่อมโยงกับโรงยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลอำเภอ ต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการทำงานเป็นเครือข่ายที่จะทำให้เกิดภาพของ ศูนย์เด็กเล็กอ่อนหวาน ศูนย์เด็กเล็กปลอดน้ำตาล โรงเรียนอ่อนหวาน โดยเฉพาะเรื่องของอาหาร ต่อเนื่องมาถึงเรื่องของโรงพยาบาล จะทำให้เกิดกระบวนการลดการกินหวานในโรงพยาบาล และส่งเสริมให้เกิดร้านกาแฟอ่อนหวานขึ้นก็จะเป็นการเชื่อมโยงตั้งแต่เรื่องของเด็ก โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชน

ทันตแพทย์สุธา กล่าวอีกว่า  การมาเยี่ยมชม ดูรูปแบบการขับเคลื่อนรณรงค์ไม่กินหวานในพื้นที่อำเภอบุ่งคล้า จ.บึงกาฬ ครั้งนี้ พบว่ามีการจัดการในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอย่างดี โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนโดยเฉพาะการกินหวานแล้วจะมีผลเสียต่อฟัน สุขภาพร่างกายอย่างไร ซึ่งมีการสนับสนุนอย่างดีจากองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า ในการสนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของอาหารกลางวัน ส่งเสริมให้มีการปลูกผักกินเอง 

นอกจากนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสาธารณสุขจังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น สามารถที่จะทำให้เด็กมีความรู้ เด็กทานนมจืดเป็นสิ่งสำคัญให้เด็กเจริญเติบโต ดังนั้นเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ดำเนินการในการสร้างกระแสให้ชุมชนทั้งชุมชนบริโภคหวานลดลง ทำให้สุขภาพของช่องปาก สุขภาพโดยรวมดีขึ้นเรื่อยๆ จากตัวอย่างของบ้านบุ่งคล้า  ที่สามารถลดปัญหาฟันผุ จาก 70-80% ลดลงเหลือประมาณ 20  % 

ด้าน ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครื่อข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน มีการติดตามานานพบว่าแหล่งที่คนไทยบริโภคน้ำตาลจำนวนมากส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่มม ซึ่งการศึกษาพบว่าการดื่มเครื่องดื่มของคนไทยดื่มได้ไม่ขึ้นกับฐานะ ใครก็ซื้อรับประทานได้เพราะมีร้านกาแฟริมถนน ถึงร้านการแฟที่มีราคาแพง โดยก็ตามองค์ประกอบหลักของเครื่องดื่มจะมีน้ำตาลสูง เพราะกาแฟรสขม ซึ่งตามธรรมชาติรสขมนั้นจะทำให้กลมกล่อมได้ก็ต้องใส่น้ำตาลมากๆ และใส่นมเพื่อเพิ่มหวานมัน แต่ที่น่าสนใจคือคนไทยไม่ได้ติดกาแฟ แต่คนไทยติดความหวานในกาแฟจึงจำเป็นต้องรับประทานทุกวัน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครือข่ายเด็กไม่กินหวาน ต้องลุกขึ้นมาให้ร้านกาแฟช่วยกันให้คนไทยลดน้ำตาลลงผ่านเครื่องดื่ม ซึ่งถ้าสามารถลน้ำตาลในเครื่องดื่มได้ก็สามารถลดน้ำตาลได้ สุขภาพก็ดีตาม 

ทพญ.ปิยะดา กล่าวอีกว่า โครงการขับเคลื่อนนโยบายเครือข่ายลดบริโภคหวานและสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มน้ำตาลสูง ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานที่มีพื้นที่ดำเนินงานทั่วประเทศ มีกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้กับเด็กและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.)  

 

ทั้งนี้การขับเคลื่อนใน ศพด. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานมุ่งส่งเสริมในเรื่องการจัดระเบียบ และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดการบริโภคหวาน ทั้งอาหารว่างและเครื่องดื่มรสหวานตั้งแต่เด็กปฐมวัย นั่นคือ มุ่งเน้นให้เด็กคุ้ยเคย รับรสชาติอาหารและความหวานจากธรรมชาติ พยายามให้ไม่ติดหวานตั้งแต่เด็ก ซึ่งแต่ละ ศพด.จะมีวิธีการจัดการไม่ให้เด็กเอาขนมมาโรงเรียน โดยมีการพูดคุยกับผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันดูแลเด็ก นอกจากนี้ศพด.จะมีกระบวนการฝึกการเรียนรู้ของเด็ก ฝึกเด็กให้กินผักและผลไม้เป็น โดยอาหารกลางวันจะต้องมีผักและผลไม้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ หรือนวัตกรรมอื่นๆ ที่แต่ละแห่งได้นำมาใช้ 

ทพญ.ปิยะดา ยังกล่าวด้วยว่า เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ยังสนับสนุนนโยบายเก็บภาษีจากอัตราความหวานในเครื่องดื่ม ตลอดจนแคมเปญ “หวานน้อยสั่งได้” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกความหวานได้จากร้านกาแฟหรือร้านเครื่องดื่มริมทาง ซึ่งขณะนี้มีร้านค้าต่างๆ เข้าร่วมแล้วกว่า 400 ร้าน ที่สำคัญ "หวานน้อยสั่งได้" ได้เป็นนโยบายระดับกระทรวงสาธารณสุขที่ขับเคลื่อนโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย และเกิดความร่วมมือของร้านกาแฟเครือข่ายใหญ่ๆ เกือบทุกค่าย เช่น อะเมซอน, แบล็ค แคนยอน, ทรู คอฟฟี่, อินทนิล, เครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป รณรงค์ให้ผู้บริโภคสั่งหวานน้อย เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการกินเพื่อสุขภาพในคนไทย 

 “เราขับเคลื่อนร้านกาแฟหวานน้อยสั่งได้มามากกว่า 10 ปี โดยมุ่งเน้นร้านกาแฟรายเล็ก สั่งกินทั่วไปที่ได้รับความนิยมในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีร้านกาแฟและเครื่องดื่มเกิดขึ้นเยอะมากในแต่ละพื้นที่ แน่นอนว่าการดื่มรสหวานเป็นประจำส่งผลกระทบให้เกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นสิ่งที่เครือข่ายพยายามขับเคลื่อนรณรงค์ลดบริโภคน้ำตาล ก็เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมหวานน้อยในหมู่คนไทย ปลอดภัยจากโรค NCDs” ทพญ.ปิยะดา กล่าว

ขณะที่ นายสมชาย คำวงษา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า จังหวัดบึงกาฬ มีนโยบายมุ่งเน้นดูแลสุขภาพของคนบึงกาฬ ตามยุทธศาสตร์ มุ่งเน้นดูแลสุขภาพของชาวบึงกาฬ 85 ปี ภายในปี  2569 เรียกว่า ยุทธศาสตร์มุ่งเน้นบึงกาฬ 5 ดี ซึ่งสอดคล้องกับเครือข่ายไม่กินหวาน  ดีแรกคือ การสร้างทางเลือกที่ดี ทำให้ประชาชนเลือกรับปทานอาหารที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อร่างกาย  

ดีสอง คือฟันดี สอดคล้องกับเครือข่ายไม่กินหวาน โดยมีการให้ความรู้ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก พัฒนาศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อนหวาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอ่อนหวาน ไม่ให้เด็กนำของหวานมากินในศูนย์ ไม่ให้มีการจำหน่ายน้ำหวาน ขนมคบเคี้ยวที่เป็นของหวาน  สอดรับเรื่องปัญหาสุขภาพของจังหวัดบึงกาฬ เพราะมีผู้เสียชีวิตจากไตวายเรื้องรัง เบาหวาน ความดันโลหิด หลอดเลือสมอง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกินน้ำตาล อาหารหวาน 

ดีสาม คือ โภชนาการดี เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง เลือกกินอาหารปลอดภัย มีสุขภาพต่อร่างกายในศูนย์เด็กเล็ก สร้างให้เกิดขึ้นวัยทำงานดู และกลุ่มอสม.ดูแลเรื่องโภชนาการดี เลือกกินอาหาร  

ดีสี่ คือ กายใจดี ส่งเสริมออกกำลังกายตามวัย เด็กสูงดีสมส่วน ผู้สูงอายุออกกำลังกายตามวัย ส่งเสริมออกกำลังกายรำไม้พอง ซึ่งจะมีการประเมินสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เพื่อกายดี ใจดี สุขภาพดี

ดีห้า คือ สิ่งแวดล้อมดี มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชน ทำหน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน ในบ้านสะอาดปลอดภัย ส่งเสริมปลูกผักในครัวเรือน  การดูแลขยะ คัดแยกขยะ เพื่อสุขภาพดีของชุมชน





คำที่เกี่ยวข้อง : #เด็กไทยไม่กินหวานสสส.  









©2018 CK News. All rights reserved.