นักวิจัยอังกฤษ เผย! ฉีดวัคซีนแบบผสม "แอสตราเซเนกา-ไฟเซอร์" ให้ประสิทธิภาพป้องกันโควิดได้ดี


29 มิ.ย. 2564, 08:40

นักวิจัยอังกฤษ เผย! ฉีดวัคซีนแบบผสม "แอสตราเซเนกา-ไฟเซอร์" ให้ประสิทธิภาพป้องกันโควิดได้ดี




วันที่ 28 มิ.ย. 64 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ผลการศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบผสมผสาน โดยการจับคู่หลายยี่ห้อสำหรับการฉีดโดสแรกและโดสที่สองให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดี

จากการทดลองของ Com-Cov ของกลุ่มวัคซีนมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ที่กำลังศึกษาการใช้วัคซีน ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ 2 โดส, วัคซีนแอสตราเซเนกา 2 โดส หรือสองแบรนด์นี้ผสมกันจะฉีดแบรนด์ไหนเป็นโดสแรกก็ได้ ทั้งหมดทำงานและสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ดี

ผลการทดลองยังระบุเป็นนัยด้วยว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา สองโดสแล้วอาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้น ถ้าหากได้รับวัคซีนโดสที่สาม (บูสเตอร์) ที่แตกต่างเพิ่ม แนะนำให้ฉีดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง

ศ.โจนาธาน แวน-แทม รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของ อังกฤษกล่าวว่า ไม่มีเหตุผลใดที่จะเปลี่ยนแปลงตารางวัคซีนที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันได้ เนื่องจากวัคซีนมีการจัดหาที่ดีและช่วยชีวิตได้ แต่อาจจะมีเหตุผลบางประการที่จะต้องมองในอนาคตว่าการฉีดวัคซีนแบบผสมผสานหลายยี่ห้อ อาจช่วยให้เรามีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนประเทศต่างๆ ที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีน และอาจประสบปัญหาในการจัดหาวัคซีนได้ด้วย



โดยบางประเทศได้ดำเนินการใช้วัคซีนผสมไประยะหนึ่งแล้ว ขณะที่ประเทศสเปนและเยอรมันกำลังเสนอใช้วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา เพื่อใช้ฉีดเป็นโดสที่สองให้พลเมืองกลุ่มอายุน้อย หลังจากฉีดแอสตราเซเนากาโดสแรก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตัน มากกว่าเรื่องประสิทธิภาพ

การฉีดวัคซีนสองโดสจึงมีความสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดและสอนร่างกายให้สร้างแอนติบอดี้และ ‘ทีเซลล์’ เพื่อป้องกันและฆ่าเชื้อไวรัสโควิด

ผลการศึกษาของ Com-Cov ได้พิจารณาการให้ขนาดวัคซีนห่างกัน 4 สัปดาห์ในกลุ่มอาสาสมัคร 850 คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปพบว่า การฉีดแอสตราเซเนกา โดสแรกตามด้วยไฟเซอร์ ทำให้เกิดแอนตบอดีและการตอบสนองของ ‘ทีเซลล์’ สูงกว่าการฉีดไฟเซอร์ ตามด้วยแอสตราเซเนกา วัคซีนผสมสองแบรนด์นี้ทำให้เกิดทำให้เกิดแอนติบอดีสูงกว่าฉีดแอสตราเซเนกาสองโดส
พบผลการตอบสนองของแอนติบอดีสูงสุดหลังจากให้ไฟเซอร์สองโดส และการตอบสนองทีเซลล์สูงสุดจากแอสตราเซเนกาตามด้วยไฟเซอร์

ศ.แมทธิว สเนป หัวหน้านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า การศึกษานี้ไม่ได้บ่อนทำลายนโยบายของอังกฤษในการให้วัคซีนแก่พลเมืองแบรนด์เดียวสองโดส  “เรารู้อยู่แล้วว่าการให้วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากในการต่อต้านโรคร้ายแรงและการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงการต่อต้านสายพันธุ์เดลต้า แตกต่างกันเมื่อให้วัคซีนห่างกัน 8- 12 สัปดาห์”


เขากล่าวว่า ผลการศึกษาใหม่นี้แสดงให้เห็นว่าการให้วัคซีนแบบผสมก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน แม้ว่าช่วงเวลาของการศึกษา 4 สัปดาห์จะสั้นกว่า 8- 12 สัปดาห์ที่ใช้กันมากที่สุดในอังกฤษ

“ช่วงที่ยาวนานกว่านี้เป็นที่ทราบกันดีว่าส่งผลให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองดีขึ้น” เขากล่าวเสริม ผลการทดลองใช้วัคซีนแบบผสมสำหรับช่วงระยะ 12 สัปดาห์จะมีให้ในเดือนหน้า”

นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาอีกด้านหนึ่งได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา โดสที่สามหลังจากได้รับวัคซีนโดสสองนานกว่า 6 เดือนเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่ายังเร็วเกินไปที่จะทราบว่า ผู้คนจะได้รับวัคซีนในปีนี้ก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวหรือไม่ และยังไม่มีความชัดเจนภูมิคุ้มกันจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปเท่าใด

ศ.พอล ฮันเตอร์ จากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย กล่าวว่า มีคำถามสำคัญในขณะนี้ว่าเราจะได้รับวัคซีนในฤดูใบไม้ร่วงหรือไม่ ด้วยหลักฐานจากสิ่งนี้และจากแหล่งอื่นๆ ตนสงสัยว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ เพราะส่วนใหญ่มีความเสี่ยงไม่ว่าจะจากอายุหรือมีความเสี่ยงด้านคลินิก  เขาแนะนำว่าได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาโดสแรก อาจได้รับวัคซีนไฟเซอร์เป็นตัวกระตุ้นมากกว่า ฉีดแอสตราเซเนกาเป็นโดสที่สองด้วยซ้ำ 

ที่มา : bbc news











©2018 CK News. All rights reserved.