กกต. ประชุม 77 พรรคการเมือง ถกระเบียบหาเสียง 3 ประเด็น "ค่าใช้จ่าย-ติดป้ายโฆษณา-หาเสียงโซเชียล"


19 ธ.ค. 2561, 11:29

กกต. ประชุม 77 พรรคการเมือง ถกระเบียบหาเสียง 3 ประเด็น "ค่าใช้จ่าย-ติดป้ายโฆษณา-หาเสียงโซเชียล"




วันที่ 19 ธ.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดประชุมร่วมกับพรรคการเมือง 77 พรรค เพื่อรับฟังความเห็นประกอบการพิจารณาระเบียบการหาเสียงเลือกตั้ง ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.เรื่องค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง 2.วิธีการติดตั้งแผ่นป้ายโฆษณาหาเสียง 3.การหาเสียงทางโซเชียลมีเดีย

 

โดยทาง กกต. ได้กำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคน ไม่เกิน 2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 500,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง ติดตามขนาดของพรรคซึ่งนับตามจำนวนผู้สมัคร อาทิ พรรคเล็กมาก ขนาด 2S มีผู้สมัครไม่เกิน 50 คน ค่าใช้จ่ายต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท พรรคเล็ก ขนาด S มีผู้สมัครไม่เกิน 100 คน ค่าใช้จ่ายต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท พรรคใหญ่ขนาด L ผู้สมัครไม่เกิน 200 คน ค่าใช้จ่ายต้องไม่เกิน 40 ล้านบาท และพรรคใหญ่มาก ขนาด 3XL ที่มีผู้สมัครตั้งแต่ 301-350 คน มีค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 70 ล้านบาท

 



การปิดป้ายหาเสียง กกต. ได้กำหนด ป้ายหาเสียงมี 2 ขนาด ได้แก่ขนาด A3 ให้ผู้สมัครจัดทำได้ไม่เกิน 10 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในแต่ละเขต และป้ายคัทเอ้าต์ขนาด 130 คูณ 245 ซม.  ให้ผู้สมัครจัดทำได้ไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนหน่วยในแต่แต่ละเขต และพรรคการเมืองจัดทำได้ไม่เกิน 1 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในแต่ละเขต

 

ส่วนเนื้อหาในป้ายหาเสียง กำหนดให้มีได้เพียง หมายเลข /ภาพ /ชื่อ-สกุลของผู้สมัคร  สามารถถ่ายภาพคู่กับหัวหน้าพรรค และบุคคลที่พรรคเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้เท่านั้น ส่วนข้อความที่ใช้หาเสียงในป้ายใส่ได้เท่าที่จำเป็นซึ่ง กกต. จะกำหนดรายละเอียดอีกครั้ง

 

สถานที่ติดตั้งป้าย สามารถติดตั้งได้เฉพาะที่สาธารณะของรัฐเท่านั้น เช่น บริเวณถนนสาธารณะ ซึ่ง กกต. จังหวัดจะเป็นผู้กำหนด

 

ทั้งนี้ การหาเสียงทางโซเชียลมีเดีย ขึ้นอยู่กับผู้สมัครว่าจะใช้ช่องทางใดแต่ต้องแจ้งให้ กกต. ทราบก่อนตั้งแต่วันสมัคร ส่วนบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัครแต่ใช้โซเชียลมีเดียช่วยผู้สมัครหาเสียงนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องเปิดเผยตัวตนระบุผู้จัดทำให้ชัดเจน และแจ้งให้ กกต.ทราบก่อน

 


โดยพรรคการเมืองที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ ต้องการความชัดเจนจาก กกต. ว่า ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อสามารถนำขึ้นป้ายหาเสียงได้หรือไม่เนื่องจากไม่มีการกกหนดที่ชัดเจน และหากขึ้นป้ายหาเสียงได้จะต้องคิดเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคหรือของผู้สมัคร

 

ส่วนปัญหาบัตรเลือกตั้ง ที่มีการเรียกร้องให้เปลี่ยนเป็นแบบพรรคเดียวเบอร์เดียวนั้น ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย และชาติไทยพัฒนา เห็นตรงกันว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะจะต้องแก้ที่กฎหมายและอาจจะกระทบต่อวันเลือกตั้งได้ มีเพียง พรรคเพื่อไทย ที่เรียกร้องให้กลับไปใช้แบบพรรคเดียวเบอร์เดียวนายกรัฐมนตรี ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือเป็นคนในบัญชีรายชื่อ ถือว่าอยู่นอกเงื่อนไขที่กำหนด เพราะไม่เช่นนั้น หากอยากจะเสนอใครแล้วเอาบุคคลนั้นไปขึ้นป้าย ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

 

ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี มีหลักการเบื้องต้น โดยต้องฟังเสียงของประชาชน ส่วนวิธีการ ยังไม่ถึงเวลา เพราะต้องรอพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งทั่วไปประกาศก่อน ทั้งนี้ ยังไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใส่ชื่อได้ เพราะยังเหลือเวลาอีกเกือบเดือน แต่คาดว่าอาจจะเสนอได้เป็นช่วงหลังปีใหม่


คำที่เกี่ยวข้อง : #กกต.   #ระเบียบหาเสียง  









©2018 CK News. All rights reserved.