Environment: เปิดตัว “ฉลาดทิ้ง : สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ” 5 นวัตกรรม แก้ไขปัญหาจัดการขยะในเมือง นำร่องปุณณวิถี ย่านนวัตกรรมเมืองกรุง


8 เม.ย. 2568, 20:09

Environment: เปิดตัว “ฉลาดทิ้ง : สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ” 5 นวัตกรรม แก้ไขปัญหาจัดการขยะในเมือง นำร่องปุณณวิถี ย่านนวัตกรรมเมืองกรุง




วันที่ 8 เม.ย.2568 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาคเอกชน กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดตัว “ฉลาดทิ้ง : สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ” (Waste Wise Station) ผลักดันการใช้ 5 นวัตกรรมจัดการขยะอย่างอัจฉริยะ ได้แก่ True E-Waste. Oklin, Circular, Refun และ Recycoex ร่วมแก้ปัญหาขยะล้นเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสังคมรีไซเคิลที่ยั่งยืนในระดับเมือง ตลอดจนช่วยสร้างโอกาสให้กับกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมการจัดการขยะของผู้ประกอบการไทยให้สามารถขยายโมเดลธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

หนึ่งในความท้าทายของกรุงเทพมหานคร คือ การจัดการขยะภายในเมือง เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งกำเนิดขยะมากที่สุดในประเทศ ในแต่ละปีภาครัฐจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการขยะในกรุงเทพมหานครกว่า 7,000 ล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชนต่างมีต้นทุนในการบริหารจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกปี

แม้ว่าปัจจุบันประชาชนบางครัวเรือนเริ่มมีการคัดแยกขยะแล้ว แต่ประเทศไทยยังขาดโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่รองรับการทิ้งขยะคัดแยกจากครัวเรือน NIA จึงเล็งเห็นโอกาสพัฒนากลุ่มคลัสเตอร์ธุรกิจจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง-ปลายทาง เกิดการร่วมมือกันของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาคเอกชน กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และศูนย์การทดลองเมืองกรุงเทพฯ (Bangkok City Lab) ออกแบบ “ฉลาดทิ้ง” สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ (Waste Wise Station) สำหรับเป็นจุดทิ้งขยะที่คัดแยกแล้วจากบ้านเรือนของคนเมือง เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น แต้มสะสม ของรางวัล เงิน เป็นต้น โดยรวมเอา 5 นวัตกรรม ตู้รับขยะอัจฉริยะ สำหรับขยะ 5 ประเภท ได้แก่ ขยะ E-Waste, ขยะเศษอาหาร, ขยะเสื้อผ้า, ขยะขวดพลาสติก และขยะประเภทน้ำมันเก่า มาอยู่ในพื้นที่ทรู ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งเป็นศูนย์กลางย่านนวัตกรรมปุณณวีถี เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบทดลองใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการขยะภายในเมืองระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งการมีสถานีจัดการขยะอัจฉริยะภายในเมืองจะช่วยลดต้นทุนการจัดการขยะของภาครัฐและเอกชน ทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกการคัดแยก-ทิ้ง-แลกเปลี่ยน ขยะแต่ละประเภทให้ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยีของผู้ประกอบการไทย





คำที่เกี่ยวข้อง : #NIA  









©2018 CK News. All rights reserved.