วันที่ 31 ต.ค.2567 ที่ สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นายสนธิญา สวัสดี เข้ายื่นหนังสือต่ออัยการเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย การกระทำของนายกรัฐมนตรี ขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 10 พ.ย. 2564 และประกอบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 14 ส.ค. 2567 กรณีแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ถูก จำคุกเพราะบุกบ้านองคมนตรี และ การประกาศสนับสนุนกลุ่มราษฎร ที่กระทำผิดมาตรา 112 ที่หนีไปต่างประเทศ และกรณี ปล่อยให้พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี ซึ่งถูกหมายจับ หลบหนีไปต่างประเทศทั้งที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย รวมถึงกรณีปลัดอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 1 ใน 14 คน ที่ศาลออกหมายจับในคดีตากใบ ลาราชการและกลับมาทำงานตามปกติหลังคดีความหมดอายุเพียง 1 วัน
นายสนธิญา ระบุว่าที่ผ่านมาตนเองติดตามการทำงานของท่านนานกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร มาโดยตลอดและได้เห็นหลายประการที่ยังขาดตกบกพร่องในบางเรื่อง ในคำพูด ความพร้อม และวุฒิภาวะ ถามว่าท่านเหมาะสมหรือไม่ท่านเหมาะสม และที่ผ่านมาตนเองไม่เคยไปร้องเรียนเกี่ยวกับรัฐบาลของนายกแพทองธาร ชินวัตร หรือพรรคเพื่อไทย เพราะให้เวลาในการทำงานเพื่อพิสูจน์ฝีมือในการทำงาน ตนมองว่านายกรัฐมาตรีจะต้องมีความพร้อมในทุกด้านที่จะต้องตัดสินใจให้ทันสถานะการณ์ ผู้นำประเทศจะต้องมี คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จึงเป็นมาของการยื่นร้องนายกแพทองธาร ชินวัตร ใน 2 ประเด็นใหญ่
ประเด็นแรก กรณีแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถึงจะไม่มีเงินเดือน ไม่มีสวัสดิการก็จริง แต่แต่งตั้งโดยตราครุฑ ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรี และสามารถเข้าร่วมประชุม เบิกเบี้ยเลี้ยงได้ ที่ต้องร้องนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เพราะเป็นพฤติกรรม เซาะกร่อน บ่อนทำลายสถาบัน เช่น ติดคุก 2 ปี 8 เดือน เพราะบุกบ้านองคมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปี 2550 และ การประกาศสนับสนุนกลุ่มราษฎร เช่น พริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือแพนกวิน และไมค์ ระยอง ที่กระทำผิดมาตรา 112 ซึ่งปัจจุบันหนีไปต่างประเทศหมดแล้ว ทำให้การแต่งตั้งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มาเป็นที่ปรึกษาโดยมิชอบ
เรื่องที่สอง ตนเองได้ทำหนังสื่อเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้กรณีตากใบ นราธิวาส ไปเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2567 ก่อนที่อายุความตากใบสิ้นสุด 17 วัน และได้การตอบรับมาว่านายกรัฐมนตรีทราบเป็นที่เรียบร้อย และที่ร้องไปยังสำนักนายกก็เพื่อให้ดำเนินการกับพลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรค แต่กลับปล่อยให้หลบหนีออกไปได้ซึ่งนายกจะปัดความรับผิดขอบไม่ได้ ยังรวมถึงกรณีปลัดอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 1 ใน14 คน ที่ศาลออกหมายจับในคดีตากใบ ลาราชการและกลับมาทำงานตามปกติหลังคดีความหมดอายุเพียง 1 วัน การที่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุม ผู้ถูกออกหมายจับ จำนวน 14 คนทั้งหมด ไม่ได้แม้แต่คนเดียว ด้วยทั้งหมดรัฐบาลภายใต้การนำของแพทองธาร ชินวัตร เป็นการกระทำที่ผู้บริหารประเทศ ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 ครั้ง วันนี้จึงมายื่นหนังสือเพื่อให้อัยการส่งเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา สั่งนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ยุติการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับกรณีนายกเศรษฐา ทวีสิน
©2018 CK News. All rights reserved.