ปภ.สรุปรายงานเหตุอุทกภัยระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-11 ก.ย. 67


11 ก.ย. 2567, 12:35

ปภ.สรุปรายงานเหตุอุทกภัยระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-11 ก.ย. 67




          วันที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 06.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอสรุปรายงานเหตุอุทกภัยระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 16 ส.ค.-11 ก.ย. 67 มีสถานการณ์ในพื้นที่ 27 จ. (เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ระยอง ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สตูล) 120 อ. 535 ต. 2,844 ม. บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 83,501 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 11 ราย (เชียงราย 2 ราย พะเยา 4 ราย น่าน 3 ราย แพร่ 2 ราย ผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) มีผู้เสียชีวิตจากดินถล่ม 15 ราย (เชียงใหม่ 2 ราย ภูเก็ต 13 ราย) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย 
          ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 7 จ. (เชียงราย เชียงใหม่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา) 17 อ. 97 ต. 450 ม. บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 14,328 ครัวเรือน ดังนี้
          1.1 จ.เชียงราย วันที่ 15 ส.ค. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมใน 3 อ. 4 ต. 27 ม. ได้แก่ อ.แม่สาย อ.ขุนตาล อ.พญาเม็งราย เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 1,276 ครัวเรือนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
 1.2 จ.เชียงใหม่ วันที่ 10 ก.ย. 67 เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ในพื้นที่ 1 อ.1 ต. 1 ม. อ.แม่อาย ส่งผลให้ดินถล่มปิดทับเส้นทางบ้านดอยแหลม-ปางต้นฆ้อง ไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรได้ และบ้านเรือนประชาชนเสียหาย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และมีผู้สูญหาย 4 ราย 
          1.3 จ.ตาก วันที่ 10 ก.ย. 67 เกิดน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำเมยเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อ.1 ต. 1 ม. อ.แม่สอด เบื้องต้นอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและไม่มีผู้เสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
           1.4 จ.สุโขทัย วันที่ 25 ส.ค. 67 เกิดเหตุน้ำกัดเซาะตลิ่งคันดินแม่น้ำยมขาด เข้าท่วมในพื้นที่ 1 อ. 3 ต. 20 ม. ได้แก่ อ.กงไกรลาศ เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 361 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 
            1.5 จ.พิษณุโลก วันที่ 25 ส.ค. 67 เกิดฝนตกหนักแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อ. 7 ต.15 ม. ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
            1.6 จ.อ่างทอง วันที่ที่ 9 ก.ย. 67 เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมากขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อ. 3 ต. 14 ม. ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ เบื้องต้นบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 343ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
            1.7 จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 2 ก.ย. 67 เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมากขึ้นน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อ. 78 ต. 372 ม. ได้แก่ อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.ผักไห่ อ.เสนา 
อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร เบื้องต้นประชาชนได้รับผลกระทบ 11,772 ครัวเรือน ไม่มีได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
           2. การให้ความช่วยเหลือ
              - สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหายให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมมอบอาหาร น้ำดื่ม ขนย้ายสิ่งของยกของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ 
              - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตได้สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้กับจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำนวน 152 หน่วย ประกอบด้วย 1) รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 27 คัน 2) เรือท้องแบนกู้ภัย 45 ลำ 3) เครื่องสูบน้ำ 14 นิ้ว 16 เครื่อง 4) รถบรรทุกเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล  4 คัน 5) รถขุดไฮดรอลิค 1 คัน 6) รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน 7) รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยพร้อมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 3 คัน  เรือพลาสติก 13 ลำ 9) รถบรรทุกพร้อมเรือยนต์เคลื่อนที่เร็ว 12 ชุด 10) รถบรรทุกน้ำขนาด 12,000 ลิตร 2 คัน 11) รถบรรทุกขนาดเล็ก 12 คัน 12) รถประกอบอาหาร 3 คัน 13) รถบรรทุกติดตั้งสูบน้ำท่วม/ขัง 1 คัน 14) รถบรรทุกติดตั้งเครน 15 ตัน 2 คัน 15) รถสูบน้ำเคลื่อนที่แบบโมบายยูนิต 1 คัน 16) รถดับเพลิงพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 1 คัน 17) รถบรรทุกน้ำมัน 1 คัน 18) รถหัวลากจูง 2 คัน 19) รถเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 200 KVA 2 คัน 20) รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว 2 คัน 21) ถุงยังชีพ 9,000 ถุง ในพื้นที่จังหวัด รายละเอียด ดังนี้
              - จ.เชียงราย ศูนย์ ปภ. เขต 15 เชียงราย สนับสนุน รถขุดตักไฮดรอลิค 1 คัน รถบรรทุกหัวลากจูง 1 คัน ในพื้นที่ อ.แม่สาย รถบรรทุกเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล 1 คัน อ.เชียงของ รถขุดไฮดรอลิค 1 คัน อ.แม่สาย รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน อ.พญาเม็งราย รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 3 คัน รถยนต์กู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว 1 คัน รถบรรทุกพร้อมเรือยนต์เคลื่อนที่เร็ว 1 ชุด รถบรรทุกขนาดเล็ก 1 คัน อ.แม่สาย
              - จ.สุโขทัย ศูนย์ ปภ. เขต 9 พิษณุโลก สนับสนุน เครื่องสูบน้ำ 14 นิ้ว 1 เครื่อง รถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 1 คัน เรือท้องแบนกู้ภัย 2 ลำ รถยนต์กู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว 1 คัน รถบรรทุกเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล 2 คัน รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย 2 คัน รถหัวลากจูง 1 คัน รถขุดตักไฮดรอลิค 1 คัน รถบรรทุกน้ำมัน 1 คัน รถบรรทุกติดตั้งเครื่องสูบน้ำชุดท่วม/ขัง 2 คัน รถบรรทุกติดตั้งเครน 6 ตัน 1 คัน รถเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 200 KVA 1 คัน ในพื้นที่ อ.สวรรคโลก 
              - จ.พิษณุโลก ศูนย์ ปภ. เขต 9 พิษณุโลก สนับสนุน รถบรรทุกหัวลากจูง 1 คัน รถขุดตักไฮดรอลิค 1 คัน ในพื้นที่ อ.พรหมพิราม
 - จ.พระนครศรีอยุธยา ศูนย์ ปภ. เขต 2 สุพรรณบุรี สนับสนุน รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว 1 คัน รถบรรทุกหัวลากจูง 1 คัน เครื่องสูบน้ำ 14 นิ้ว 2 เครื่อง 
         3. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลาง (กอปภ.ก.) ได้สั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
              3.1 แจ้งเตือนจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และ จังหวัด สตูล ติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า
              3.2 จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์ น้ำฝน น้ำท่า หอเตือนภัย ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
              3.3 ศูนย์ ปภ.เขต ในพื้นที่ และศูนย์ ปภ. เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องจักรกล ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือที่ประสบอุทกภัย
              3.4 จังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
              3.5 ให้รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะยุติ














©2018 CK News. All rights reserved.