วันที่ 13 พ.ค.2567 นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยนายสุพจน์ สุวรรณจิตร ผู้อำนวยการเฉพาะด้านปฎิบัติงานช่างชลประทานโครงการชลประทานนนทบุรี กรมชลประทาน , นายชุติมันต์ สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายสมนึก คำนวณ รองนายกเทศมนตรีเมืองบางกรวย ลงพื้นที่มาตรวจสอบความเสียหาย บริเวณแนวเขื่อนกั้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี หลังจากแนวเขื่อนกั้นริมแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดทรุดตัวเสียหาย
นายสุธี เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงจัดทำ “โครงการปรับปรุงอาคารประกอบประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำคลองบางกรวย” เพื่อซ่อมแซมอาคารประกอบประตูระบายน้ำ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่เกิดจากน้ำที่ลอดใต้เขื่อนเข้าไป จึงจัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าไปในบ้านเรือนของราษฎร โดยใช้วิธีการนำดินมาถมด้านหลังเขื่อน
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบคาดว่า ช่วงนี้น้ำขึ้น-ลงเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการทรุดตัวของแนวเขื่อน ทำให้แนวเขื่อนเอนและล้มลงเป็นแนว 50 เมตร ส่วนนี้จึงส่งผลให้ไม่สามารถกั้นน้ำที่กำลังจะขึ้นได้ อาจะส่งผลกระทบทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลเข้าสู่คลองบางกรวยได้ และอาจมีปริมาณน้ำในคลองสูงขึ้น 1-2 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าบริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน
ส่วนบ้านที่บ้านเกิดรอยร้าวนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านปลูกบ้านชิดแนวเขื่อน และเมื่อโครงการได้นำหินคลุกลง ก็อาจทำให้เศษหินไหลไปขนเสาบ้านของประชาชนและเกิดรอยร้าวได้ ซึ่งตอนนี้ได้สั่งการให้งดใช้เครื่องจักร และใช้คนในการดำเนินโครงการเพื่อลดความเสี่ยงที่ชาวบ้านจะได้รับผลกระทบส่วนความเสียหายอื่นๆ ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับแนวเขื่อนที่ทรุดตัวลง
ด้านนายชุติมันต์ สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 ให้ความมั่นใจต่อประชานชน ว่าแนวเขื่อนที่ทรุดตัวนั้น จะไม่ดึงแนวเขื่อนส่วนอื่นลงไปด้วย เพราะจากการตรวจสอบแนวเขื่อนที่ทรุดมีความยาวเพียง 50 เมตร จาก ความยาวแนวเขื่อนทั้งหมด 380 เมตร ตั้งแต่วัดค้างคาวไปจนถึงการไฟฟ้าพระนรคเหนือ ที่อยู่ในการดูแลของกรมชลประทานที่ 11
ซึ่งจากการตรวจสอบและจัดตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงนั้น คาดว่าสาเหตุเกิดจากการใช้งานแนวเขื่อนเป็นระยะเวลานาน 12-13 ปี และเป็นช่วงที่โค้งของแม่น้ำ อีกทั้งช่วงนี้ยังเกิดน้ำขึ้น-ลง ที่อาจะทำให้ดินข้างในหลุดลอดออกมา ทำให้ไม่มีตัวพยุงแนวเขื่อน
ทั้งนี้จะเร่งแรับปรุงแก้ไจโดยจะนำดินมาลงเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้เข้าสู่พื้นที่บ้านเรือน และจะนำชีทพายปักใต้น้ำ 2 แนว จากนั้นจะลื้อแนวเสาเข็มออก โดยอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ในการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
©2018 CK News. All rights reserved.