“เศรษฐา” โชว์วิชั่น 500 นักธุรกิจญี่ปุ่น ย้ำความสัมพันธ์ 136 ปี ลั่นรัฐบาลหนุนนักธุรกิจรายเดิม-รายใหม่ ขอร่วมพัฒนา‘แลนด์บริดจ์’ด้วยกัน


15 ธ.ค. 2566, 11:50

“เศรษฐา” โชว์วิชั่น 500 นักธุรกิจญี่ปุ่น ย้ำความสัมพันธ์ 136 ปี ลั่นรัฐบาลหนุนนักธุรกิจรายเดิม-รายใหม่ ขอร่วมพัฒนา‘แลนด์บริดจ์’ด้วยกัน




เวลา 09.00น.(ตามเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น ที่เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง) ที่โรงแรมอินพีเรียลโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายไซโต เค็น (H.E. Mr. Saito Ken) รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 ธ.ค. เข้าเยี่ยมคารวะนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง จากนั้น นายเศรษฐา กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand-Japan Investment Forum” ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) มีนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯและรมว.การต่างประเทศ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมเข้าร่วมงานด้วย โดยมีนายไซโต รวมถึงนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้าร่วมงานกว่า 500 คน ซึ่งเป็นการสัมมนาใหญ่ระหว่างสองประเทศด้านเศรษฐกิจครั้งแรกหลังสถานการโควิด-19 คลี่คลาย

 นายเศรษฐา กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า ขอบคุณและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนาที่รัฐบาลไทยเร่งดําเนินการ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก โดยไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางการทูตอันดีและยาวนานกว่า 136 ปี  ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และสังคม

1.คือความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่มีกว่า136 ปี เป็นมิตรแท้ที่มีความสัมพันธ์กันในทุกระดับ ทั้งราชวงศ์ รัฐบาลและภาคธุรกิจไปถึงภาคประชาชน มีบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยกว่า 6,000 บริษัท มีชาวญี่ปุ่นในไทย 80,000 คน
 

2. รัฐบาลมีแนวทางในการผลักดันเศรษฐกิจไทย วันนี้รัฐบาลมีแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งเศรษฐกิจใหม่ เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว อุตสาหกรรมเอไอ การวิจัย และพัฒนาสตารท์อัพให้เติบโตในเวทีโลก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายญี่ปุ่นที่เน้นเทคโนโลยีคุณภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่บริษัทใหญ่ไปจนถึงบริษัทท้องถิ่น หวังว่าไทยจะเป็นจุดมุ่งหมายของพวกท่าน แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้น อัดเงินเข้าระบบ ดึงดูดนักท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน

ด้านการค้าญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าลำดับต้น เชื่อว่าขยายได้อีกครอบคลุมสินค้าได้หลากหลาย ด้านการลงทุนมีโครงการบีโอไอส่งเสริม 4000 โครงการ การลงทุนญี่ปุ่นมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยโตอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณนักลงทุนญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย เป็นเวลา 50 ปีที่อุตสาหกรรมญี่ปุ่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เราไม่ลืมและสนับสนุนให้แข่งขันเติบโตได้เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโยยีใหม่ และส่งเสริมซอฟต์เพาเวอร์สู่ระดับสากล ด้วยการทูตเชิงวัฒนาธรรม พัฒนา 1 ครอบครัว 1 ซอฟ ต่อยอดภูมิปัญหา เป็นโอกาสต่อยอดของญี่ปุ่น

3. ด้านแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญของไทย รัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ ยกระดับระบบคมนาคมขนส่งของ โดยมีหลายภาคส่วนที่มีความร่วมมือกับทางญี่ปุ่น ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอีอีซีแล้ว ขณะนี้รัฐบาลยังมุ่งมั่นที่จะผลักดันโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์)ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มูลค่าเงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 4 ล้านล้านเยน เพื่อสร้างเส้นทางการค้าการขนส่งใหม่ของโลกที่เชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ด้วยท่าเรือ ระบบราง และระบบถนน ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคและระดับโลก จึงขอเชิญชวนให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้าร่วมศึกษาและลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ เสริมสร้างความเชื่อมโยงและซัพพลายเซนในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“สุดท้ายนี้ ผมในนามรัฐบาลไทยให้ความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลมุ่งมั่นจะยกระดับเศรษฐกิจ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เดินหน้าขยายการเจรจาเอฟทีเอ กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และเร่งปรับปรุงบริการภาครัฐเพื่อทำให้การประกอบธุรกิจมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้ประเทศไทยเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่รายสำคัญของไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ไทยพร้อมสนับสนุนการลงทุนจากญี่ปุ่นทั้งรายเดิมและรายใหม่ และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นในการยกระดับอุตสาหกรรม เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อความก้าวหน้าของทั้งสองประเทศต่อไป” นายเศรษฐา กล่าว

นายไซโต กล่าวปาฐกถา ตอนหนึ่งว่า ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยเป็นพันธมิตรสำคัญร่วมสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมมาโดยตลอด มีอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลักบนพื้นฐานความไว้วางใจที่สั่งสมมายาวนานของทั้งสองประเทศ ปีนี้ครบรอบ 50 ปี แห่งมิตรภาพญี่ปุ่นอาเซียน ความร่วมมือที่ผ่านมาได้สะสมความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาโดยตลอด เพื่อสร้างอนาคตร่วมกันในอีก50 ปีข้างหน้า โดยจะมุ่งเน้นใน 3 ประเด็น คือการสร้างอุตสาหกรรมในอนาคต เปิดสายงานที่ญี่ปุ่นถนัด เช่น พลังงานสะดาด รถยนต์ในยุคต่อไป การบินและอวกาศ รวมถึงการแพทย์ขึ้นสูง ความมั่นคงด้านพลังงานและลดคาบอนไปพร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะผลักดันความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมในการลดคาบอน เพราะญี่ปุ่นกำลังดำเนินการกับไทยอยู่หลายโครงการ และสามคือการพัฒนาบุคคลที่เป็นพื้นฐานความร่วมมือเพื่อสร้างอนาคต มีการเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนนักธุรกิจรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความสัมพันธ์ร่วมกันเหมือนที่เรามีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและความไว้วางใจซึ่งกันและกันตั้งแต่รุ่นก่อน

อย่างไรก็ตามในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ผู้ผลิตญี่ปุ่นได้เข้ามาไทยในช่วงปี 1960 ตั้งแต่นั้นมา 60 ปี มีการสร้างงานร่วมกันในอุตสาหกรรมนี้อย่างมั่นคง แต่วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีการลงทุนของสหรัฐอเมริกาและจีนเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันระดับโลกทวีความรุนแรง ญี่ปุ่นต้องการให้อาเซียนโดยเฉพาะไทยที่ถูกขนาดนามว่าดีทรอยต์อาเซียนที่แข็งแกร่ง เป็นที่สร้างยานยนต์ในยุคต่อไปเพื่อให้แข่งขันในโลกได้ เพราะนอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังมีรถยนต์ไฮโดเจน และเอสทานอล เราต้องพัฒนาในเรื่องเหล่านี้ และต้องจับตาดูการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกและพัฒนายานยนต์เชิงกุลยุทธ์ และจับตาตลาดส่งออกยุโรป ที่ต้องการลดคาร์บอนในกระบวนการผลิต ซึ่งเราต้องตอบสนองในเรื่องดังกล่าว และอยากทำงานให้ครอบคลุมกับประเทศไทย โดยร่วมมือกับ
นายเศรษฐา และรัฐบาลไทยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของสองประเทศ และเร่งสร้างศูนย์การผลิตและการส่งออกรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกในยุคต่อไป และไม่ใช่แค่รถยนต์แต่ยังจะทำงานแข็งขันเพื่อกระชับความสัมพันธ์การลงทุนของทั้งสองประเทศในด้านต่างๆด้วย





คำที่เกี่ยวข้อง : #นายกรัฐมนตรี  









©2018 CK News. All rights reserved.