ที่จังหวัดอุทัยธานี นายธีรพัฒน์ คัชมาตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี นางรตยาจันทรเธียรประธานที่ปรึกษามูลนินิสืบ นาคเสถียร สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) หน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนิสิต นักศึกษา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลวัยครบรอบ 33 ปี ต่อการจากไปของ “สืบ นาคเสถียร” บริเวณอนุสรณ์สถาน สืบ นาคะเสถียร ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
จากนั้น ผู้ร่วมงานทั้งหมดได้ไปที่อนุสาวรีย์ สืบ นาคะเสถียร เพื่อร่วมกันวางหรีดผ้าขาวม้า รำลึก 33 ปี รวม 60 หน่วยงานร่วมวางหรีด โดยมีนาย อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืเพื่อรำลึกถึงคุณความดีและผลงานของอดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยภายในงานได้จัดให้มี พิธีมอบทุน “สืบเจตนารักษ์ป่าห้วยขาแข้ง” แก่บุตร-ธิดา เจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า และนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายอนุรักษ์เสือโคร่ง รวม 45 ทุน ทุนละ 3,000 บาท จากนั้นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าได้กล่าวคำปฏิญาณตนจะเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ดี ทั้งนี้ “สืบ นาคะเสถียร” เสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนหันมาสนใจปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง และในวันที่ 18 กันยายน ปีเดียวกัน เพื่อนนักอนุรักษ์ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิสืบนาคะเสถียรขึ้น เพื่อสานต่อการทำงานดูแลผืนป่าตะวันตก ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก สำหรับบ้านพักของ “สืบ นาคเสถียร” ยังคงรักษาไว้อย่างเดิม มีสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า รองเท้า และกล้องบันทึกภาพหลายอย่าง โดยเปิดให้ประชาชนั่วไป นิสิต นักศึกษา ได้เข้ามาเรียนรู้
งานรำลึก 33 ปีแห่งการจากไปของ “สืบ นาคะเสถียร” ผู้มีอุดมการณ์อนุรักษ์ผืนป่า จนตัดสินใจใช้ชีวิตของตัวเอง ให้สังคมหันมาให้ความสำคัญปัญหาการทำลายธรรมชาติ วันที่ 1 กันยายนของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงวันจากไปของ “สืบ นาคะเสถียร” นักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ทุ่มเททั้งชีวิต และจิตวิญญาณในการอนุรักษ์ป่าและสรรพชีวิตในผืนป่า “สืบ นาคะเสถียร” ได้ปลิดชีวิตของตนเองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 เพื่อปลุกจิตสำนึกของคนในสังคม ให้รับทราบความรู้ถึงสถานการณ์ป่าไม้ และสัตว์ป่าเมืองไทย
โดยประวัติของสืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2492 จังหวัดปราจีนบุรี และในพ.ศ.2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ.2516 สืบ นาคะเสถียรเข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ พ.ศ.2517 เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา ในปีพ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ ทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น
จนกระทั่ง พ.ศ.2526 ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว และในเวลา ต่อมา พ.ศ.2529 ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน พ.ศ.2531 กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พร้อมพยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ เพื่อจะเป็นหลักประกันสำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 ได้รับทุนไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกประเทศอังกฤษ พร้อมกับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ นาคะเสถียร ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ และเช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย
©2018 CK News. All rights reserved.