"วัดศาลาเย็น" เปิดศูนย์เรียนรู้สู่ชุมชนให้ศึกษามาค้นคว้าหาประวัติความเป็นมาของวัตถุโบราณในอดีตกาลหลายร้อยปี


3 ส.ค. 2566, 14:04

"วัดศาลาเย็น" เปิดศูนย์เรียนรู้สู่ชุมชนให้ศึกษามาค้นคว้าหาประวัติความเป็นมาของวัตถุโบราณในอดีตกาลหลายร้อยปี




ที่วัดศาลาเย็น บ้านตากแดด หมู่ที่ 6 ตำบลตากูก อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วัดศาลาเย้นเป็นวัดที่เก่าแก่(เมื่อคาดคะเนในช่วงเวลาคาดว่าน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)สร้างขึ้นครั้งแรกในบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือป่าช้าบ้านตากแดดในปัจจุบันที่ชาวบ้านยังเรียกติดปากว่า"โข๊ะเชย" เป็นภาษากูยที่แปลว่า"โคกต้นประดู่"ซึ่งก่อนที่จะมีการสร้างวัดนั้นชาวบ้านที่มีการสร้างหลักฐานรวมกลุ่มจัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโรงเรียนตากแดดในปัจจุบันที่ชาวบ้านยังเรียกติดปากว่า"โข๊ะ ดี"แปลว่าหมู่บ้านเก่า"ในระหว่างที่มีการสร้างวัดก็มีขบวนช้างจากบ้านตากลาง  ได้เดินทางไปคล้องช้างป่าที่ประเทศกัมพูชาและยังได้พูดคุยกับชาวบ้านที่กำลังจะสร้างวัด  ควาญช้างพูดกับชาวบ้านที่สร้างวัดใก้ลจะเสร็จว่า"มีพระมาจำพรรษาแล้วหรือยัง" ชาวบ้านตอบกลับว่ายัง  ควาญช้างจึงแนะนำให้ชาวบ้านไปนิมนต์พระที่วัดบ้านตากลาง เนื่องจากวัดบ้านตากลางมีพระหลายรูป

เมื่อสร้างวัดเสร็จชาวบ้านตากแดด  ก็ได้ไปนิมนต์พระจากบ้านตากลางมาจำพรรษาในวันรุ่งขึ้น  ตามคำแนะนำของควาญช้าง เมื่อไปถึงบ้านตากลางก็เย็นมากแล้วจึงเข้าไปกราบมนัสการเจ้าอาวาส บอกจุดประสงค์ของการมาครั้งนี้  เมื่อพูดคุยทำความเข้าใจแล้วเจ้าอาวาสก็อนุญาติให้พระมาจำพรรษาในวันรุ่งขึ้นทางวัดจึงจัดหาขบวนช้างให้เป็นพาหนะให้กับพระเพื่อเดินทางมาที่วัดตากแดดเมื่อพระฉันภัตตาหารเช้าเสร็จ  ก็ออกเดินทางเรื่อยมาเมื่อถึงวัดตากแดด ก็เป็นเวลาใกล้เที่ยงวันนั้นอากาศร้อนมาก เพราะเป็นช่วงเดือน 5 เมื่อมาถึงวัดบ้านตากแดด พระรูปนั้นได้มองดูวัดมองไปรอบบริเวณก็ตกใจ  เพราะไม่มีต้นไม้เหลืออยู่เลยเห็นแต่วัดหลังเล็กไม่มีที่พักพระรูปนั้น  จึงพูดกับชาวบ้านว่า"ให้อาตมามา ตากแดด"อาตมาจะให้ชื่อวัดนี้ว่า"วัดบ้านตากแดด"ชาวบ้านจึงเรียกขานกันมาว่า"วัดบ้านตากแดด"ตามคำพูดของพระรูปนั้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากนั้นวัดบ้านตากแดด ก็มีการพัฒนาและเจริญขึ้นมาตามลำดับแต่ที่ต้องย้ายวัดมาสร้างที่แห่งใหม่นั้นเนื่องจากเกิดโรคระบาดคือโรคอหิวาตกโรคหรือชาวบ้านเรียกว่า"โรคห่า"เป็นเหตุให้พระและชาวบ้านล้มป่วยตายเป็นจำนวนมาก  เพราะในอดีตไม่มียารักษาโรคดังนั้นเมื่อเกิดโรคระบาดชาวบ้านก็มีการละทิ้งถิ่นฐานไปหาที่ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่  โดยกลุ่มที่ย้ายไปตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ทางทิศตะวันตกหนองน้ำ  ชาวบ้านเรียกติดปากว่า"โกลงอาไร"ซึ่งโกลง"แปลว่า"หนองน้ำ"เหมือนแอ่งกระทะ "อาไร"แปลว่าต้นหวาย  ซึ่งมีต้นหวายอยู่รอบหนองน้ำเป็นจำนวนมาก  ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า"บ้านหวาย"ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"หมู่บ้านอาไร"จนมาถึงปัจจุบันจากนั้นวัดบ้านตากแดดก็มีการพัฒนาและเจริญขึ้นตามลำดับ
หลวงปู่สา ท่านเป็นผู้นำ  ชาวบ้านในการสร้างวัดเมื่อสร้างเสร็จชาวบ้านได้มีการนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสจากนั้นท่านก็ได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง  ก่อนที่ท่านจะลาสิกขาบท  ท่านได้ปลูกต้นโพธิ์คู่เป็นอนุสรณ์2ต้นต้นโพธิ์คู่คู่นั้นก็เจริญเติบโตมาตามลำดับ  จนเป็นโพธิ์คู่ประจำหมู่บ้านตากแดดและหมู่บ้านโพธิ์คู่มาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อท่านลาสิกขาบทชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอาจารย์แก้ว วัดบ้านสวายตำบลแตล มาเป็นเจ้าอาวาสพระอาจารย์แก้วท่านเห็นว่าบริเวณต้นโพธิ์ที่มีที่ดินคับแคบเมื่อพระอาจารย์ปันลาสิกขาบทจึงพาที่สร้างวัดใหม่ในขณะที่กำลังสร้างยังไม่เสร็จ  พระอาจารย์แก้วก็ลาสิกขาบท  ชาวบ้านจึงนิมนต์พระอาจารย์ปันจากบ้านแตล  เป็นเจ้าอาวาสและมีบางท่านก็ลาสิกขาบทและบางท่านก็มรณภาพไปบ้างก็มีชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอาจารย์ปัด(ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของพระครูสุดธรรมธาดา)เป็นเจ้าอาวาสรูปที่10

เมื่อพระอาจารย์ปัดเป็นเจ้าอาวาสท่านเห็นว่าสถานที่ก่อสร้างในวัดปัจจุบันมีบริเวณคับแคบอยู่ติดกับหมู่บ้านและมีทางเกวียนล้อมรอบไม่สามารถขยายได้จึงหาสถานที่จะสร้างวัดขึ้นใหม่ต่อมามีผู้บริจาคที่ดินอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดศาลาเย็น  จึงได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่บนที่ดินดังกล่าวในปัจจุบันชาวบ้านเรียกติดปากว่า"วัดเหรียง"หรือแปลว่า"วัดร้าง"จากนั้นพระอาจารย์ปัดจึงได้นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้นใหม่แต่วัดยังไม่เสร็จ  พระอาจารย์ปัดได้ลาสิกขาบทชาวบ้าน 

จึงได้นิมนต์พระอาจารย์ดวงเป็นเจ้าอาวาสเมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสมีความเห็นว่าวัดอยู่ไกล  จากหมู่บ้านชาวบ้านจะมาทำบุญฟังเทศก์ฟังธรรมไม่สะดวกโดยเฉพาะเวลากลางคืนจึงได้ย้ายมาสร้างบนพื้นที่เดิมคือบริเวณ"วัดศาลาเย็น"ในปัจจุบันนี้โดยมีพระอธิการสายแพร กตุปุญโญ ดร.บ้านโพธิ์คู่เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ภายในวัดศาลาเย็นนอกจากจะมีประวัติความเป็นมาจากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน

โดยมีพระอธิการสายแพร กตปุญโญเจ้าอาวาส  องค์ปัจจุบันได้หมั่นศึกษาหาความรู้ตลอดจนการพัฒนาวัดศาลาเย็นอย่างต่อเนื่องโดยการให้ชาวบ้านที่มีสิ่งของเก่าแก่จากโบราณอาทิเช่น กลองยาวหนังงู ,กลองทัต,ระนาดเอก,หน้าไม้,ซอหนังงู,มีดเหลาตอก,กรรไกรปลอกหมาก,กลองหนังกระสอบ,แคนกลองตะโพน,กระโจมนาค,ฆ้องวงเล็ก,ฆ้องวงใหญ่,กระดิ่งคล้องวัว,กระบอกใส่เอกสาร,พวงสาวไหม,กระชอนกะลามะพร้าว,กระสวยทอผ้า,เหรียญสตางค์เจาะรู,เหรียญตราครุฑ,เหรียญตราแผ่นดิน, สิ่งของโบราณเหล่านี้มีมาตั้งแต่สมัยปีพุทธศักราช 2475 ซึ่งชาวบ้านได้นำมาถวายตลอดจนนำมาจัดทำเป็นห้องศูนย์เรียนรู้ให้กับพี่น้องประชาชนตลอดจนเด็กนักเรียนนักศึกษาที่อยากจะมาดูมาชมมาค้นคว้าหาประวัติความเป็นมาของวัดตลอดจนสิ่งของต่างๆที่ชาวบ้านนำมาถวายให้กับวัดศาลาเย็นณวันนี้

และในวันที่ 4 สิงหาคม2566ที่ จะถึงนี้ตั้งแต่เวลา 08.00น.-12.00 น.พระอธิการสายแพร กตปุญโญ  เจ้าอาวาสวัดศาลาเย็นได้เป็นวิทยากรเปิดศูนย์เรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ภายในสังกัดตำบลตากูก   จำนวนนับร้อยคนภายใน 3  โรงเรียน  จะได้เดินทางมาพร้อมคณะครูได้เข้ามาดูมาชมและเรียนรู้กับสิ่งของวัตถุโบราณสถานภายในวัดศาลาเย็นตำบลตากูกอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์พร้อมกับประวัติความเป็นมาของวัดศาลาเย็นที่มีประวัติมายาวนานจนกว่าจะมาถึงวันนี้














©2018 CK News. All rights reserved.