วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศด่วน ฉบับที่ 18 เตือนอิทธิพล พายุดีเปรสชัน “ตาลิม” (TALIM) ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น ส่งผลมี “ฝนตกหนักถึงหนักมาก”
เวลา 04.00 น.พายุดีเปรสชัน “ตาลิม” (TALIM) บริเวณเมืองเตวียนกวง ประเทศเวียดนาม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 22.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 105.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์
กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิ
ศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงเป็
นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลั
งแรงบริเวณประเทศเวี
ยดนามตอนบนในระยะต่อไป
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พั
ดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมี
ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอั
นตรายจากฝนตกหนักถึงหนั
กมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้
เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่
าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้
ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวั
งในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้
าคะนอง
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึ
งหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวั
ดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครราชสีมา ชัยภูมิ
บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง:จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
ภาคใต้:จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวั
ดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง:จังหวัดลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้:จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามั
นและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสู
งมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสู
งมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้
วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริ
เวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามั
นและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่
งในระยะนี้ไว้ด้วย จึงขอให้ประชาชนติ
ดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็
บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง