วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปลาตายน้ำแดง" หรือ “แพลงก์ตอนบลูม” ส่งผลให้ปลาทะเลนับล้านตัวตายเต็มชายหาด โดยเฉพาะที่หาดทุ่งวัวแล่น อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ Kantaphong Thakoonjiranonที่โพสภาพปลานับตายเกลื่อนหาด พร้อมระบุว่า เป็นปรากฏการณ์ ปลาตายน้ำแดงริมหาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ตั้งแต่อยู่ทะเลมาปีนี้เยอะที่สุด "หลายล้านตัว"
เหตุการณ์นี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat เกี่ยวกับ หาดทุ่งวัวแล่น ชุมพร มีปลาขึ้นมาตายจำนวนมาก จึงอยากอธิบายให้เพื่อนธรณ์
เป็นปรากฏการณ์ปรกติ คนแถวนั้นเรียก “น้ำแดง” (ชื่อเฉพาะ) มักเกิดตอนต้นฤดูฝน เมื่อน้ำจืดลงทะเลเป็นจำนวนมาก พาธาตุอาหารลงทะเล สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนรวดร็ว เกิดแพลงก์ตอนบลูม สัปดาห์ก่อนคณะประมงไปสำรวจทะเลชุมพร/เรือปราบพอดี จึงมีภาพและข้อมูลมาให้ดูครับ
ภาพแรกคือ่าวทุ่งวัวแล่น น้ำตื้น เห็นน้ำสีเขียว เกิดปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ทำให้ปลาขาดออกซิเจนพร้อมกันจำนวนมาก น้ำตื้นและร้อน ปลาหน้าพื้นทะเลบางส่วนจึงตาย ก่อนโดนพัดขึ้นมาบนหาด
ภาพสองเป็นที่ห่างฝั่ง บริเวณเรือปราบ น้ำแบ่งเป็น 2 ชั้น น้ำใสอยู่ด้านบน แต่เรือปราบลึก 24 เมตร ปลาจึงพออยู่ได้ แม้อาจมีปลาน้อยกว่าปรกติเนื่องจากน้ำร้อน ฯลฯ
กลับมาที่ทุ่งวัวแล่น ตามข่าวบอกว่า ปีนี้ปลาตายเยอะกว่าปีก่อนๆ เกี่ยวกับโลกร้อนไหม ?
คำตอบคืออาจเกี่ยวบ้าง เช่น น้ำร้อนทำให้ปลาตายง่ายขึ้น ฝนตกเยอะน้ำจืดลงทะเลเยอะ ฯลฯ
แต่ผลกระทบจากโลกร้อนต้องศึกษาให้ถี่ถ้วน ด้วยข้อมูลตอนนี้ คงบอกว่าเมื่อโลกร้อนขึ้น “อาจ” ส่งผลกระทบต่อแพลงก์ตอนบลูมและปลาตาย
ไม่เหมือนปะการังฟอกขาวที่เห็นชัดกว่าและอธิบายได้ตรงกว่า
ไม่ควรเก็บปลามากิน แม้ไม่มีพิษ แต่ถ้าตายมานาน ไม่สด อาจติดเชื้อ
ผลกระทบโลกร้อนต่อทะเลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะการเร่งปรากฏการณ์เดิมให้แรงขึ้น เช่น ปะการังฟอกขาว แพลงก์ตอนบลูม
ภัยพิบัติเริ่มมองเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้วครับ
ขอบคุณภาพ Kantaphong thakoonjiranon
©2018 CK News. All rights reserved.